วันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ผู้เชี่ยวชาญ แนะทารกควรออกกำลังกาย



การที่จะให้ทารกน้อยออกกำลังกายไม่ใช่เรื่องยากเลย เพียงแค่ปล่อยให้ทารกวัย 3 เดือนนอนหงายสักครู่ แล้วดูทารกน้อยพยายามที่จะผงกหัวตัวเองขึ้นมา หรือจับมือลูกตบเบาะเบาๆ หรือหาสถานที่ที่มี เฟอร์นิเจอร์แข็งแรงให้ลูกเกาะยืน ไต่ไปตามเฟอร์นิเจอร์นั้นสักครู่ ในไม่ช้าก็จะช่วยให้ลูกวัยกำลัง คลานเปลี่ยนจากคลานมาเป็นเดินเตาะแตะได้ ทั้งนี้ มีเด็กทารกหลายคนถูกทิ้งให้อยู่ในรถเข็นเด็ก, เพลย์เพน หรือเบาะนั่งสำหรับเด็กนานเกินไป ทำให้ไม่ได้ออกกำลังกาย หรือเคลื่อนไหวไปตาม ที่ต่างๆได้

หน่วยงานชื่อ the National Association for Sport and Physical Activity แห่ง สหรัฐฯ ออกประกาศให้คำแนะนำแก่บรรดาพ่อแม่ผู้ปกครอง, ศูนย์รับเลี้ยงเด็กทั่วประเทศว่า เด็กวัยทารก, วัยกำลังคลาน และเด็กวัยก่อนและวัยเข้าอนุบาลควรได้รับการออกกำลังกายอย่างง่ายๆ ทุกวัน เหมือนเป็นการสะสมพัฒนาการให้ค่อยเป็นค่อยไป เช่น หัดเดิน หัดวิ่งและหัดทำกิจกรรม อย่างที่ผู้ใหญ่ทำได้ พ่อแม่ผู้ปกครองหลายรายคิดว่า ทักษะของพัฒนาการเด็กเช่น การกลิ้งตัว, การนั่ง หรือเดินนั้น เมื่อถึงเวลา เด็กก็จะทำได้เองตามธรรมชาติ ซึ่งก็เป็นความจริง แต่ว่า พ่อแม่ควรตระเตรียมสภาพแวดล้อม สถานที่ภายในบ้านให้พร้อมสำหรับลูกได้มีโอกาสฝึก ทักษะเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้สมองได้สื่อมายังกล้ามเนื้อเพื่อพัฒนาทักษะทางกาย

Jim Pivarnik, Exercise Physiologist of Michigan State University หนึ่งใน ผู้ที่ร่างคำแนะนำนี้ ระบุเพิ่มเติมว่า พ่อแม่บางรายต้องการทำบ้านให้ปลอดภัยสำหรับลูกทุก กระเบียดนิ้ว ซึ่งไม่ผิดประการใด แต่นอกจากทำบ้านให้ปลอดภัยสำหรับลูกแล้ว ต้องปล่อย ให้ลูกได้มีโอกาสคลาน, เกาะเดิน หรือ กลิ้งตัวเล่นตามพื้นบ้างเพื่อให้เด็กได้รู้จักการแสวงหา ค้นคว้า แสดงความสงสัย และอยากผจญภัยด้วยตัวเอง สรุปคือให้ลูกได้เคลื่อนไหวไปมาด้วย ตัวเองภายในบริเวณบ้าน โดยมีพ่อแม่คอยดูแลอยู่ใกล้ๆ เพื่อความปลอดภัย

ในคำแนะนำนี้ ไม่มีผู้ใดระบุถึงการพาลูกไปเข้าคลาสเบบี้ยิม เพราะการให้เด็กวัยดังกล่าว ออกกำลังกายเป็นเรื่องที่ง่ายๆ สนุกๆ อยู่ในวิถีชีวิตประจำวันอยู่แล้ว และหวังว่าเด็กเหล่านี้เมื่อ โตขึ้นจะไม่กลายเป็นส่วนหนึ่งของเด็กอ้วน ซึ่งเป็นปัญหาในปัจจุบันนี้ ยกตัวอย่างเช่น เด็ก ทารกที่ถูกจับให้นั่งเก้าอี้เด็กอ่อน นั่งมองตุ๊กตาแขวนตรงหน้าทั้งวัน อาจจะพลิกตัวช้ากว่า ทารกที่ใช้เวลาส่วนใหญ่เหยียดแขน เหยียดขา แกว่งแขนเล่นอยู่บนผ้าห่มปูพื้นบ่อยๆ

สำหรับเด็กวัย 2 ขวบ - โยนรับลูกบอลล์เล่นกับเด็ก จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางกาย ก้าวหน้า พร้อมที่จะก้าวสู่พัฒนาการอีกขั้นได้อย่างรวดเร็ว ลูกบอลล์ที่หามาก็ไม่จำเป็นต้อง ราคาแพง เพียงแค่ลูกบอลล์นิ่มๆ ไม่ไปกระทบกับข้าวของแล้วทำให้แตกหัก อาจใช้ถุงน่อง คุณแม่ที่เลิกใช้แล้ว ซักให้สะอาดนำมาขดผูกให้เป็นก้อนกลมๆ ก็ใช้โยนรับกับลูกได้ หรือ ใช้กระดาษขยำม้วนเป็นก้อนกลมแล้วใช้สก็อตช์เทปพันทับก็ใช้ได้เช่นกัน (ระวังอย่าให้ลูก
แกะสก็อตช์เทปเอาเข้าปากเล่น)

บางครั้งการที่เด็กวัยทารก หรือวัยก่อนอนุบาลเหล่านี้เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ทำให้พี่เลี้ยง เด็ก หรือคุณพ่อคุณแม่คิดว่าเด็กมีกิจกรรม และได้ออกกำลังกายตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่ว่า ปัจจุบันทั้งทีวีและวิดีโอเกมเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเด็กมาก ทำให้เด็กเหล่า นี้นั่งดูอยู่กับที่ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวเท่าที่ควร และบางครั้งลูกอาจจะนั่งดูทีวีนานกว่าที่พ่อ แม่คิดก็ได้ เพราะไม่ได้จับเวลาไว้ทุกครั้ง นอกจากนั้น กิจกรรมสำหรับเด็กแต่ละวัยก็ แตกต่างกันไปเช่นกันเพื่อให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย


ข้อแนะนำในการกระตุ้นให้เด็กทารก
และวัยอนุบาลได้ออกกำลังกาย
1) พ่อแม่หรือพี่เลี้ยงเด็กควรเปิดโอกาสให้เด็กเคลื่อนไหวไปมา ทำกิจกรรมต่างๆจนเป็น ส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเด็ก เช่น เล่นจ๊ะเอ๋, จับมือแกว่งไปมาเบาๆ จ้องหน้าพูดคุย กับเด็ก อุ้มพาเดินดูสิ่งต่างๆ ในบ้าน ชมนกชมไม้หน้าบ้าน ให้เด็กได้เห็นวิว หรือสภาพ แวดล้อมแปลกใหม่ ไม่ซ้ำซากจำเจ

2) อย่าปล่อยให้เด็กนั่งเก้ารถเข็น เก้าอี้เด็ก หรืออยู่ในที่จำกัดครั้งละนานๆ ถ้าลองสังเกตดู จะเห็นว่า ทารกวัยน้อยๆ สามารถเคลื่อนไหวร่างกายด้วยท่าทางที่แตกต่างกันเมื่ออยู่บน ผ้าห่มปูพื้น และเมื่ออยู่บนเบาะนั่งสำหรับเด็ก

3) เด็กวัยหัดเดินควรได้เคลื่อนไหวร่างกายเพื่อออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที และ 1 ชั่วโมงสำหรับเด็กวัยเตรียมอนุบาลในแต่ละวัน โดยกิจกรรมอาจจะเป็น เต้นหรือทำ ท่าทางประกอบการร้องเพลง, วิ่ง ไล่จับลูกบอลล์, โยน รับบอลล์, - สำหรับเด็กโต หรือ เกม / กิจกรรมต่างๆ ที่ช่วยให้เด็กมีทักษะการทรงตัว และช่วยให้กล้ามเนื้อพัฒนาขึ้น

4) เด็กวัยหัดเดินและวัยเตรียมอนุบาลควรใช้เวลาวันละอย่างน้อย 1 ชั่วโมงในการเล่น อย่างเป็นอิสระ ค้นคว้า, ทดสอบ, ทดลองสิ่งต่างๆ ที่เขาสนใจ หรือเลียนแบบการกระทำ ของพ่อแม่ ผู้ใกล้ชิด ดังนั้น พี่เลี้ยงเด็กหรือพ่อแม่ควรหาวัสดุอุปกรณ์ของเล่นที่เด็ก สามารถขึ้นไปขี่, ผลัก, ดึง, ทรงตัว หรือปีนป่ายได้อย่างปลอดภัย

5) เด็กวัยดังกล่าวไม่ควรถูกจำกัดสถานที่ หรือนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานานเกิน 1 ชั่วโมง ยกเว้นขณะนอนหลับ

การที่เด็กได้ออกกำลังกายนั้น ไม่ควรนำมาใช้เพื่อต้องการทำโทษเด็ก หรือบังคับให้เด็ก ทำโดยฝืนใจ ควรเป็นไปด้วยความสมัครใจและสนุกสนาน ที่สำคัญควรบรรจุกิจกรรม ให้เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายโดยเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเด็ก พี่เลี้ยงเด็กและ พ่อแม่ควรร่วมสนุกกับเด็กในการทำกิจกรรมด้วย อย่าเพียงแต่นั่งดูเด็กเล่นอยู่เฉยๆ คนเดียวตามลำพัง

BMW TOYOTA YAMAHA CITIBANK

ไม่มีความคิดเห็น: